ดุเหว่าส่งเสียงร้อง a cuckoo's cry --
จันทร์ส่องแสงนวลสุกใส moonlight seeping through
เปล่งประกายผ่านป่าไผ่ a large bamboo grove
กลอนไฮกุของท่าน Matsuo Basho
วันนี้ฉันขอเล่าเรื่องต้นไม้ที่ยืนเคียงข้างกับประเทศญี่ปุ่น และมีความสำคัญมากในวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนที่นั่น ต้นไม้นั้นก็คือ ไผ่
เมื่อมาเยียบแผ่นดินญี่ปุ่นนี้แล้ว เราสามารถพบกับต้นไผ่ในทุกหนแห่ง ในสวน ริมแม่น้ำ ในป่า บนภูเขา ไม้ไผ่ใกล้ชิดกับชีวิตของคนญี่ปุ่นอย่างแนบแน่น ไม่ว่าญี่ปุ่นจะเจริญก้าวหน้าไปไกลแค่ไหน ไม้ไผ่ ก็เกาะตามไปด้วยอย่างเหนียวแน่น จนเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นเลยทีเดียว
คนญี่ปุ่นทั้งใช้ (ไม้ไผ่) ทั้งกิน (หน่อไม้) ไม้ไผ่ใช้สร้างบ้าน ตั้งแต่ รั้วบ้าน หลังคา พื้นบ้าน ประตู หน้าต่าง ไปจนถึงม่าน และมูลี่ ในครัวก็มีผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เต็มไปหมด ตั้งแต่ตะเกียบไปจนถึงไม้หรือแปรงคนชาที่ทำด้วยไม้ไผ่ น่ารักๆ
ป่าไผ่ของวัดโฮะโกะกุ-จิ วัดเรืองชื่อ (จากป่าไผ่) ของคามาคุระ
อ่านเวอร์ชั่นที่มีรายละเอียดการท่องเที่ยวและการเดินทางได้ที่ลิงค์ข้างล่างค่ะ
มนต์เสน่ห์ป่าไผ่ วัดโฮะโกะกุ-จิ
ญี่ปุ่นมีไผ่หลายชนิดแต่ที่เห็นมากที่ สุดคงจะเป็นไผ่พันธ์ ‘โมะโสะ’ (moso) ป่าไผ่ของวัดโฮะโกะกุ-จิ มีไผ่ โมะโสะ 2000 กว่าต้น สวนญี่ปุ่นก็ต้องมีโรงน้ำชา ดื่มไป ชื่นชมไผ่ไป สุดสบายอารมณ์
ไป ญี่ปุ่นคราวนี้ฉันมีโอกาสได้ไปเดินป่าหลายแห่ง การเดินป่าหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Hiking ที่จริงแล้วคำนี้กว้างกว่า ‘เดินป่า’ แต่ฉันหาคำภาษาไทยให้ตรงกันไม่ได้ เพราะ ‘เดินเขา’ ก็ใช่ ‘เดินทุ่ง’ ก็ใช่
การเดินป่า หรือ Hiking นั้น นิยมกันมากที่ญี่ปุ่น และฉันก็คิดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเที่ยวญี่ปุ่น ได้สัมผัสญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง ได้สัมผัสธรรมชาติ และห่างไกลนักท่องเที่ยวที่มากันเป็นฝูง
มีอยู่วันหนึ่งนั่งฉันไปเดินป่า ที่เทือกเขาแอลป์ญี่ปุ่น และโชคดีจัง ที่ก่อนหน้านั้นหนึ่งวันที่นั่นมีพายุหิมะ ทำให้ฉันได้สัมผัสกับภูเขาสีขาวโพลน เส้นทาง 8 กิโลเมตรในหุบเขาเลยเป็นของฉันและผู้ร่วมทางแต่ผู้เดียว เงียบสงบ และงดงาม วันนั้นเราไม่กลัวหิมะ และไม่กลัวหมีด้วย เขามีระฆังสำหรับเคาะเตือนหมีไว้เป็นระยะๆ มีป้ายกำกับไว้ว่า ‘โปรดเคาะดังๆ’ ซึ่งเราก็ทำตามอย่างไม่อิดเอื้อน
อ่านเวอร์ชั่นที่มีรายละเอียดการท่องเที่ยวและการเดินทางได้ที่ลิงค์ข้างล่างค่ะ
เดินป่าบนเส้นทางเก่าแก่ ‘นะกะเซ็นโดะ’
ไผ่ โมะโสะ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ไผ่กระดองเต่า (tortoise-shell bamboo) เป็นพันธุ์ไม้ในตระกูลหญ้า (Poaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllostachys edulis คำว่า ‘edulis’ ในภาษาละตินแปลว่า ‘กินได้’ นั่นคือหน่อกินได้ แต่ต้องนำหน่อไผ่ โมะโสะไป ต้มจนนิ่ม เพื่อขจัดกรด oxalic และสารเคมีที่เป็นพิษ เริ่มแรกคือหั่นเปลือกออกให้หมด แล้วนำไปต้มกับน้ำรำข้าวที่เป็นด่าง ใช้เวลาต้มนานกว่า 30 นาที หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อไม้
ไผ่ โมะโสะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน โตเต็มที่จะสูงประมาณ 15-30 เมตร เป็นไผ่ที่ใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรมไม้ไผ่
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับไผ่ โมะโสะ ได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Phyllostachys_edulis
ในภาษาญี่ปุ่น หน่อไม้เรียกว่า ทะเคะโนะโคะ (takenoko) แปลตรงๆ ได้ว่า ‘ลูกไผ่’
ต้นไผ่ในญี่ปุ่นถือกันว่าเป็น สัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง ในวันปีใหม่ตามบ้าน ร้านค้า ศาลเจ้า และสถานที่ต่างๆ ในญี่ปุ่น จะตกแต่ง ด้วย คะโดะมะซึต (kadomatsu) เป็นไม่ไผ่สามกระบอกที่เอามาผูกด้วยกัน และตกแต่งด้วยดอกพลัมกับใบสน
ไปเที่ยวญี่ปุ่นคราวหน้า อย่าลืมแวะไปทักทายต้นไผ่กันนะค่ะ
จะต้องหาโอกาศพาน้องๆๆไปเที่ยวกัน