โอคาซากิ-จินจะและคอนไคโคเมียว-จิ

ต้นแบบศาลเจ้าและวัดของเกียวโต

ในเมืองใหญ่อย่างเกียวโตที่เต็มไปด้วยสถานที่ทางประวัติศาสตร์และศาสนาแทบทุกตารางนิ้วนั้น บางครั้งก็ทำให้แยกแยะสิ่งที่คุณเห็น ได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสมัยใกล้ ๆ กัน

 ตอนผมพักที่โรงแรมเฮย์อัน โนะ โมริในเกียวโตผมก็ได้ไปยังศาลเจ้าโอคาซากิและวัดคอนไคโคเมียว ทั้งสองที่อยู่ห่างจากโรงแรมไม่ถึงสิบนาที เพราะตั้งอยู่ใกล้กันเลยทำให้ผมสามารถเปรียบเทียบและรู้ถึงความแตกต่างเด่น ๆ ระหว่างสถาปัตยกรรมของวัดกับศาลเจ้าที่ยอกเหนือไปจากการเป็นสถานที่ทางศาสนาเดียวกัน

เชื่อกันว่าศาลเจ้าโอคาซากิเป็นศาลเจ้าทิศบูรพาในบรรดาทิศทั้งสี่ตอนที่จักรพรรดิคันมุทำการย้ายเมืองหลวงเกียวโตที่สมัยนั้นเรียกว่า เฮย์อัน-เคียว ศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์ราชสำนักในปีค.ศ. 794 และสถานที่นั้นจึงรู้จักกันในชื่อ ฮิงาชิ-เทนโน (กษัตริย์บูรพา) มาจิ มีการวางแผนโครงสร้างศาลเจ้าเป้นจัตุรัสแบบเรียบง่าย และมีอาคารต่าง ๆ อยู่รอบขอบเพื่อให้สะดวกในการหาทาง ในปี 1778 ทางศาลเจ้าได้รับการบนบานจากองค์จักรพรรดินีที่ขอพรให้มีทายาทร่างกายแข็งแรงและในปัจจุบันหลายคนก้มาที่นี่เพื่อเหตุผลเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีรูปปั้นกระต่ายที่เป้นเครื่องแก้บนอยู่จำนวนมาก ใกล้กันนั้นยังมีห้องพิธีวิวาห์ ทำให้ในช่วงวันมงคลตามปฏิทินของญี่ปุ่น ศาลเจ้าจะกึกก้องด้วยเสียงดนตรีขลุ่ยและพิธีจัดงานแต่งงานแบบดั้งเดิมมากมาย

พอเสร็จจากศาลเจ้าโอคาซากิ ผมก็เดินไปทางทิศเหนือห้านาทีมุ่งสู่วัดคอนไคโคเมียวผ่านทางตรอกเล็ก ๆ ที่ติดกับศาลเจ้า วัดคอนไคโคเมียวสร้างขึ้นเมื่อปี 1175 และเป็นหนึ่งในวัดผู้นำแปดแห่งของกลุ่มสำนักปฐพีบริสุทธิ์ ซึ่งบวกกับของเซนและนิชิเรนก็จะเป็นสามสำนักพุทธที่มีชื่อเสียงญี่ปุ่น เนื่องจากเป้นวัดใหญ่ในแถบนี้ จึงรู้จักกันอีกชื่อว่าวัดคุโรดานิ บ้านและสุสานจำนวนมากได้แบ่งคุโรดานิออกเป็นเขตย่อย

ด้วยเพราะภูมิประเทศเป็นภูเขา มีขนาดใหญ่และเอนกประสงค์ ผังของวัดแห่งนี้จึงเป็นไปตามลักษณะของภูเขา แบบแปลนของอาคารต่าง ๆ ในบริเวณนี้จึงมีความกระจัดกระจายกันมากกว่าเมื่อเทียบกับศาลเจ้าโอคาซากิ ซึ่งยังได้รวมบริเวณที่โอเนน ศาสดานิกายโจโดะใช้อยู่อาศัยในปี 1175 เพื่อเผยแพร่คำสอนของสำนักปฐพีบริสุทธิ์ของเขา และในสุสานก็เป็นที่ฝังศพของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ อย่างเหล่านักรบแห่งตระกูล ไอสุ กับ คุวานะ ที่เสียชีวิตลงในศึกโทบะ-ฟุชิมิเมื่อปี 1868 เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง “The Last Samurai” การได้เดินชมวัดและศาลเจ้าถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งของการอยู่ในเกียวโต สถานที่ทั้งสองแบบนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโบราณ และเป็นอนุสาวรีย์สำหรับทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น และยังสะท้อนถึงการที่ศาสนาพุทธมีอิทธิพลต่อชินโตอย่างไรด้วย

0
0
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ช่วยเราพัฒนาเว็ปไซต์ JapanTravel.com
ให้คำติชมหรือข้อเสนอแนะ

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your support!

Your feedback has been sent.