เกียวโต วัดกินคะคุจิ (Ginkaku-ji)

ศาลาเงินอันละเอียดอ่อนและสวนชมจันทร์

วัด Ginkaku-ji (สร้างเสร็จในปี 1490 และตอนนี้มีชื่อเป็นทางการว่า วัด Jisho-ji) โดยมากมักจะถูกแปลว่า "วัดศาลาเงิน" แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่เงิน เมื่อเทียบกับ "ศาลาทอง (Kinkaku)" ที่สร้างอย่างสวยงามและน่าประทับใจ ที่นี่เป็นสีเข้ม เงียบสงบและเรียบง่าย แล้วทำไมถึงถูกเรียกว่าศาลาเงิน? สาเหตุก็เป็นเพราะแนวคิดของศาลาและจุดที่ตั้งรอบๆซึ่งเน้นเฉพาะในการชมพระจันทร์เป็นพิเศษ ขณะที่ Kinkaku สะืท้อนแสงสีทองอันสดใสภายใต้ดวงอาทิตย์ Ginkaku ก็ได้รับการออกแบบให้ส่องแสงสีเงินอันงดงามภายใต้แสงจันทร์ 

การชมดวงจันทร์

การชมดวงจันทร์ในญี่ปุ่นเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง แต่เมื่อย้อนกลับไปตอนที่ Ginkaku สร้าง ผู้คนไม่ได้มาชมจันทร์โดยตรง พวกเขาชมโดยพายเรือในสระน้ำ ส่วนพวกขุนนางชื่นชมแสงจันทร์เต็มดวงบนพื้นผิวน้ำและแม้แต่ชมจากถ้วยสาเก ไม่เพียงแต่พวกเขาจะชมภาพจันทร์เต็มดวงเท่านั้น พวกเขายังแต่งโคลงกลอน ฟังเพลงพื้นเมือง และดื่มชาด้วย 

แสงจันทร์และ Ginkaku

แม้ว่าผู้สร้างศาลาเงิน (Ashikaga Yoshimasa) จะเสียชีวิตก่อนสร้างเสร็จ เขาได้วางแผนสร้างที่นี่ไว้ชมพระจันทร์เต็มดวงไว้โดยเฉพาะด้วย อันดับแรกพวกเขาจะคอยดวงจันทร์ที่ระเบียงของศาลาชั้นที่ 1 ตามที่ได้คำนวณด้วยคอมพิวเตอร์นั้น ดวงจันทร์จะโผล่ออกมาจากชายเขาและหายไปอย่างรวดเร็ว พวกเขาจะเคลื่อนตัวขึ้นไปยังชั้น 2 และเลื่อนหน้า่ต่างที่ทำจากกระดาษเพื่อชมพระจันทร์เคลื่อนตัวเหนือพื้นน้ำ สุดท้ายพวกเขาจะเคลื่อนย้ายไปห้องจัดงานพิเศษที่ติดกับ Ginkaku โดยผ่านทางเชื่อมด้านนอก (ในปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว) พวกเขาจะชื่นชมพระจันทร์เต็มดวงที่อยู่เหนือ Ginkaku; แต่งโคลงกลอน และเปรียบเทียบความหอมของกลิ่นกำยานหลากชนิดจนถึงตี 3 เมื่อพระจันทร์หายไปในที่สุด

รายละเอียดของศาลาเงิน

ศาลานี้มี 2 ชั้น ชั้นแรกประกอบด้วยระเบียงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นห้องพื้นไม้และห้องเสื่อทาทามิ 2 ห้อง เรียกว่า Shoin-zukuri ชั้นที่ 2 มีรูปปั้นพระพุทธเจ้าสีทองล้อมรอบไปด้วยซุ้มหน้าต่างฉากเลื่อนทำจากกระดาษทรงโค้งเรียกว่า Zenshu-yo เป็นที่น่าสนใจว่าแม้ว่าชั้นที่ 1 จะหันหน้าไปทางตะวันออกแต่ชั้นที่ 2 หันหน้าไปทิศใต้ ยังไม่มีใครอธิบายถึงสาเหตุได้ จากการสำรวจเพื่อทำการซ่อมแซมในปี 2009 ต้นแบบของ Ginkaku อาจจะค่อนข้างต่างไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กำแพงด้านนอกของชั้น 2 ถูกทาด้วยสีขาวบริสุทธิ์และลายรวงผึ้งที่มีสีสัน ริ้วลายทางแนวนอน และลวดลายอื่นๆยาวไปจนใต้ชายคา! สีขาวของ Ginkaku จะส่องประกายสีเงินอันสวยงามในแสงจันทร์ในช่วงเวลานั้น 

ประวัติของวัด Ginkaku-ji

วัด Ginkaku-ji เดิมเป็นบ้านพักของโชกุน Ashikaga Yoshimasa ที่เกษียณแล้ว (1436-1490) มีชื่อเรียกว่า Higashiyama-dono (บ้านพักทางฝั่งตะวันออกของชายเขา) อีกด้านหนึ่ง ศาลาที่ขึ้นชื่ออีกแห่ง, Kinkaku-ji, ถูกเรียกว่า Kitayama-dono (บ้านพักทางฝั่งเหนือของชายเขา) Yoshimasa เป็นหลานของ Yoshimitsu ผู้ริิิเริ่มก่อสร้างคินคาคุ-จิ 

ในขณะที่ Yoshimitsu เป็นผู้นำด้านการเมืองแต่ Yoshimasa กลับไม่ใช่ Yoshimasa สร้างบ้านพักไว้เพื่อชื่นชมชีวิตท้องถิ่น หันหลังให้กับวงสังคม แต่เขาเป็นผู้มีความรู้ในขั้นสูง มีรสนิยมในการเลือกศิลปกรรม และมีพรสวรรค์อย่างแท้จริงในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม เขาสะสมต้นไม้และหินที่ดีสุดที่ได้จากการบังคับโดยนำมาจากวัดและแหล่งพำนักที่มีชื่อเสียง ใน Higashiyama-dono เขาพยายามออกแบบความงดงามที่หล่อเลี้ยงมาจากภายในจิตใจ แต่โชคร้ายที่เขาไม่ได้มีโอกาสเห็น Ginkaku ด้วยตาตัวเอง เขาเสียชีวิตในปี 1490 ก่อนที่จะสร้างเสร็จ

Rokuon Nichiroku (บันทึกทางการของนักบวชของวัด Shokoku-ji) กล่าวว่าในปี 1615 ทั่วทั้งบริเวณของวัด Ginkaku-ji ถูกสร้างขึ้นใหม่ ในขณะนั้นสระน้ำ (ที่ถูกดินถล่ิม) ได้รับการปรับแบบใหม่ และสวนศิลปกรรมทราย (บรรยายอยู่ด้านล่าง) อยู่ติดกับอาคาร Ginkaku ถูกสร้างขึ้นและได้รับการพัฒนาในปีต่อๆมา 

สวนสองระดับใน Ginkaku-ji

สวนของ Ginkaku-ji ประกอบด้วยสวนพื้นดินด้านบนและสวนที่เป็นสระน้ำด้านล่างเหมือนกับที่วัด Saiho-ji และวัด Kinkaku-ji แนวคิดการออกแบบนี้เป็นไปตามหลักความคิดของเซนที่นักบวช Muso Soseki แสดงไว้ที่สวนของวัด Saiho-ji ตามหลักการของเซนนั้น เขาสร้างสวน 2 ระดับอยู่เหนือสุสานโบราณ แต่ Yoshimasa ผู้ที่ต้องการสุสานเป็นของตัวเอง ได้ย้ายสุสานออกจากวัด Jodo-ji เมื่อตอนที่เขาเลือกที่สำหรับทำบ้านพัก ทางวัด Jodo-ji จึงส่งสารแสดงการคัดค้านมายัง Yoshimasa แต่เขาเพิกเฉย เขาได้ทำตามแผนเดิมโดยไม่สนว่ามันจะส่งผลยังไงบ้าง เพราะเชื่อมั่นในความรู้ด้านศิลปะความงามของตัวเอง 

ศิลปะผืนทรายที่น่าสนใจ 

มีสวนศิลปกรรมทรายที่น่าสนใจอยู่ติดกับ Ginkaku เินินทรายในปัจจุบันและรูปแบบการวางที่ขดเป็นวงกลมนั้นเหมือนกับของเดิมที่เคยปรากฎครั้งแรกในบันทึกในปี 1780 ในบันทึกปี 1799 รูปแบบขดวงกลมนี้ถูกยกให้สูงขึ้นมานิดหนึ่ง และแล้วในปี 1864 มันถูกยกระดับขึ้นอีกและกลายเป็นเนินทราย ดังนั้นรูปแบบศิลปกรรมทรายทรงเฉพาะนี้ไม่ได้ถูกสร้างภายในวันเดียว (เหมือนกับที่กรุงโรม)! 

เกี่ยวกับเรื่องราวชุดนี้ 

ในปี 1339 นักบวช Muso Soseki ได้ออกแบบและก่อสร้างสวน 2 ระดับในวัด Saiho-ji ซึ่งยังคงมีชื่อเสียงและได้รับการชื่นชมมาจนถึงทุกวันนี้ ระหว่างสวนสระน้ำระดับล่างอันสง่างามและสวนพื้นดินที่ระดับบนที่แตกต่างกันได้อย่างชัดเจน เวลาผ่านไปเกือบ 700 ปี สวนนี้ได้เปลี่ยนไปอย่างสมบูรณ์ ตอนนี้เราสามารถชื่นชมเสน่ห์ความงามของสวนที่ปกคลุมด้วยต้นมอสเหมือนผืนพรมอย่างสวยงาม

เนื่องจากผู้คนชื่นชอบ Muso Soseki และผลงานของเขา ผู้มีอำนาจในแต่ละยุคจึงสร้างสวนของพวกเขาตามรูปแบบสวนสองระดับของวัด Saiho-ji ในชุดนี้ฉันอยากจะเน้นไปที่สวนพิเศษ 3 แห่งในเกียวโตและพิจารณาความงามจากแง่มุมของการใช้พื้นที่ของสวนเหล่านั้น 

1. วัด Saiho-ji : ผืนพรมต้นมอส สวนตามวิถีเซน

2. วัด Kinkaku-ji : ศาลาทองที่ส่องประกายและสวนสำหรับจัดงานเลี้ยงที่กว้างขวาง

3. วัด Ginkaku-ji : ศาลาเงินที่ละเอียดงดงามและสวนชมวิวพระจันทร์ 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Ginkakuji

0
0
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ช่วยเราพัฒนาเว็ปไซต์ JapanTravel.com
ให้คำติชมหรือข้อเสนอแนะ

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your support!

Your feedback has been sent.