สำหรับใครหลายๆคน ศิลปะการแสดงดั้งเดิมของญี่ปุ่นอาจจะนึกถึงละครโนะ หรือโรงละครคาบุกิที่ทำให้รู้สึกน่างุนงงอยู่สักหน่อย เพราะนี่คือสิ่งที่ฉันได้ยินมาโดยตลอดแม้กระทั่งคนท้องถิ่นเองก็ยังบอกว่ามันเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก ยิ่งเป็นชาวต่างชาติที่ไม่ได้เข้าถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้งคงยิ่งจะต้องใช้เวลาทำความเข้าใจนานอยู่สักหน่อย ซึ่งการชมการแสดงศิลปะโบราณเช่นนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ฉันจะเข้าใจสักเท่าไหร่ แม้ว่าฉันจะชื่นชอบในวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างมากก็ตาม
เปิดโลกการละครโนะ
มันเป็นประสบการณ์ที่น่าประหลาดใจกับครั้งแรกที่ฉันได้มาที่โรงละครโนที่ฉันต้องขอบคุณที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ละครโนะงานนี้ขึ้นมา ซึ่งจัดโดยโรปเปอิตะ XIV เพื่อระลึกถึงโรงละครโนในชินะกะวะ สิ่งที่พิเศษสำหรับกิจกรรมนี้คือก่อนเริ่มการแสดงจะมีจัดเวิร์คช็อป 2 ชั่วโมงเป็นภาษาอังกฤษที่อธิบายถึงเรื่องราวเบื้องต้นของละครโนะ ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงที่มีอายุกว่า 650 ปีที่รวมทั้งเต้น, ร้อง, จังหวะ และการแสดงเข้าไว้ด้วยกัน
ศาสตราจารย์ริชาร์ด เอ็มเมอร์ท เป็นผู้ประพันธ์ส่วนแรกของการแสดงที่มีทั้งส่วนแสงไฟและบทตลกขบขัน กลุ่มคนดูอาสาสมัครได้ถูกเชิญขึ้นไปร่วมแสดงกับนักแสดงมืออาชีพบนเวทีเพื่อที่จะเรียนรู้วิธีการเล่นเครื่องดนตรี ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ง่ายเลย เพื่อประสานเสียงแต่ละเครื่องดนตรีให้เข้ากันในการแสดงจำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีทั้งหมด 4 ชนิด คือ ขลุ่ย (ฟุเอะ) และกลองสามประเภท (โค-ซึซุมิ, โอซึซุมิ และไทโกะ)
การใช้เสียงและการแสดงละครก็มีบทบาทสำคัญเช่นเดียวกัน ก่อนที่จะเริ่มตีกลองในแต่ละครั้ง ศิลปินจะโห่ร้องที่เรียกว่าคาเคะโกเอะ เสมือนการให้สัญญาณเรียกกลอง ระหว่างการแสดงลำดับของคาเคะโกเอะ, การเคลื่อนไหวแขน และ จังหวะการตีกลองที่เป็นธรรมชาติทำให้เสียงโดยรวมไพเราะและทำให้การแสดงดูทรงพลังและแข็งแกร่ง
รวมถึงเมื่อไม่ได้มีอุปกรณ์การแสดงเยอะมากนักหรือไม่จำเป็นต้องใช้เฟอร์นิเจอร์หลายชิ้นบนเวทีในแต่ละฉาก ทำให้นักร้องประสานเสียงจึงต้องทำหน้าที่เป็นเสียงประกอบในแต่ละฉากนั่นเอง ในคุโระซุกะ ละครจะถูกเล่นหลังจากจบเวิร์คช็อป โดยจะมีการอธิบายสัญลักษณ์ต่าง เช่น ลม, สายฟ้า และฝน
ชุดแต่งกายโนะ
จุดเด่นของเวิร์คช็อปนี้ คือ การได้มีโอกาสเห็นอาสาสมัครทั้งสองคนลองสวมใส่เครื่องแต่งกายอันสวยงามปราณีต กระบวนการตัดเย็บชุดเหล่านี้ต้องอาศัยเวลาและทักษะขั้นสูงจึงทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาดูดีเช่นนี้
การแสดงละครโนะนี้เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะใบ้ปริศนาผ่านทางสีของเสื้อผ้าที่ตัวละครสวมใส่ สีแดงและสีสว่างจะถูกใช้กับตัลวละครอายุน้อย ในขณะที่สีฟ้าและสีเขียวถูกใช้กับบทบาทผู้ใหญ่มากกว่า รวมถึงมันยังน่าตื่นตาตื่นใจเมื่อเห็นนักแสดงอยู่บนเวทีกับชุดแต่งกายที่มีสีสันหลากหลายที่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะค่อยๆเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล ซึ่งสิ่งนี้เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของละครโนะ คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย
เวิร์คช็อปนี้ได้สร้างประสบการณ์การชมการแสดงละครโนะได้อย่างเข้าใจลึกซึ้งทำให้เข้าถึงศิลปะการแสดงอันน่าทึ่งของญี่ปุ่นได้อย่างเต็มรูปแบบ
โรงละครคิตะโนะได้จัดงาน “เปิดโลกประเพณีละครโนะ” เป็นประจำทุกปี แต่ถ้าคุณโชคไม่ดีที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ตอนอยู่โตเกียวนั้น คุณสามารถเช็คตารางกิจกรรมล่วงหน้าครั้งต่อไปได้ เพราะที่นี่มักจะจัดแสดงละครบ่อยครั้ง และมีข้อมูลรายละเอียดกิจกรรมภาษาอังกฤษเพื่อทำให้ผู้ชมชาวต่างชาติเข้าใจการแสดงมากยิ่งขึ้น