หากจะถามว่า อะไรคือสามสิ่งเมื่อนึกถึงเกียวโตคืออะไร หลายคนคงตอบว่า วัดวาอาราม ไมโกะ(ผู้ฝึกหัดเป็นเกอิชา) และ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับชา การสัมผัสประสบการณ์ในพิธีชงชงของญี่ปุ่น จึงเป็นหนึ่งในรายการที่อยากจะทำเมื่อเยือนดินแดนกรุงเก่าเกียวโต
ที่ The tea room Juan (ห้องชงชาจูอัน) เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษที่จะเข้ารับประสบการณ์ชงชาญี่ปุ่นแท้ๆในดินแดนอาทิตย์อุทัย ในภาษาญี่ปุ่นนั้น คำว่า จุ หมายถึง มีส่วนรวม เข้าร่วมด้วยกัน ส่วนคำว่า อัน นั้นหมายถึงโรงน้ำชา หรือห้องชงชา เพราะฉะนั้นร้านน้ำชาทั้งหลายจะมีคำว่า อัน อยู่ในชื่อ เจ้าของห้องชา คือคุณ คิราฮาตะ ได้ก่อตั้ง ร้านน้ำชาเพื่อแขกจากต่างประเทศทั่วโลกสามารถเข้าร่วมและเพลิดเพลินกับการดื่มชาร่วมกัน ในวัฒนธรรมชาของประเทศญี่ปุ่นมีคติพจน์ หรือ หลักปฎิบัติอันเป็นที่รู้จักกันดี คือ ichigo ichie แม้ว่าจะมีขั้นตอนเหมือนเดิม แต่ในพิธีแต่ละครั้งก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ไม่เหมือนเดิมทุกครั้ง ฉะนั้นจึงถือว่าพิธีในแต่ละครั้งเป็นประสบการณ์ที่จะพบเจอเพียงหนึ่งครั้งในชีวิต ในทุกขณะของพิธีชงชานั้นมีความหมายในตัวของมันเอง โดยหลักคือการบรรณาการแก่วัฒนธรรมชาอันลึกซึ้งและสลับซับซ้อน ซึ่งได้รับการพัฒนามาหลายทศวรรษ
สำหรับพิธีชงชา ทางเจ้าภาพจะทำการคัดสรร องค์ประกอบสำหรับพิธีเป็นอย่างดี สำหรับวาระโอกาสที่แตกต่างกันไป ใบชาที่มีคุณภาพสูงที่สุดนั้นจะมาจาก หุบเขานอกจังหวัดอุจิ ระหว่าง จังหวัดเกียวโต และ จังหวัดนาระ ซึ่งเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และเพื่อให้ได้ชาคุณภาพเยี่ยม จะต้องเก็บแต่ใบอ่อนชาเพื่อให้ได้ชาที่มีรสชาติดีที่สุด และใบอ่อนของชาเหล่านี้จะทำเอามาทำผงชามัตฉะ เจ้าภาพจะตระเตรียมผงชาคุณภาพดีเพื่อให้เกียรติแก่แขกที่มาเข้าร่วม
พิธีชงชาจะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่สี่อย่างคือ อย่างแรกคือ Wa หมายถึงความสงบ และความกลมกลืน อย่างที่สองคือ Kei หมายถึงความนับถือ ประวัติวัฒนธรรมชาของญี่ปุ่นนั้นมีมานานหลายร้อยปี ดังนั้น ผู้เข้าร่วมพิธีชงชา จึงควรเคารพศิลปะขั้นสูงนี้และช่วยกันทำให้ทุกคนที่ร่วมพิธีให้เพลิดเพลินกับความสุขสำราญที่ได้จากพิธีชงชา องค์ประกอบที่สามคือ Sei หมายถึงความบริสุทธิ์ ในร้านน้ำชา ทุกคนในห้องชงชา และทุกองค์ประกอบ ควรที่จะได้รับการทำความสะอาดให้บริสุทธิ์ องค์ประกอบสุดท้าย คือ Jaku หมายถึง ความศรัทธาที่แน่วแน่ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือที่หนักแน่นนั้นจะทำให้เราเข้มแข็ง ดังนั้นองค์ประกอบทั้งสี่ของวัฒนธรรมชานั้น ถือได้ว่ามีความหมายอันลึกซึ้งและ สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันของทุกคน
เจ้าของร้านน้ำชา จุอัน หรือคุณ คิราฮาตะ ได้แนะนำแต่ละขั้นตอนของพิธีชงชาเป็นลำดับ เริ่มจาก ขั้นแรกคือ การทักทาย เจ้าภาพจะวางพัดญี่ปุ่นข้างหน้าเขาหรือถือ แล้วจึงโค้งคำนับ หลังจากนั้น เจ้าภาพจะทำจัดขนมให้บนกระดาษสีขาว และมีดตัดขนมขนาดเล็กก่อนที่จะเสิร์ฟน้ำชา หลังจากแขกได้ทานขนมเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพจะเข้ามาในห้องชงชาอีกครั้งเพื่อเริ่มการชงชา ในพิธีชงชานั้นจะใช้ชาอยู่สองประเภท ชาที่รสรสเข้ม ซึ่งมีรสชาติออกไปทางขม และชารสอ่อน ส่วนพิธีชงชานั้นก็มีอยู่สองประเภท คือแบบเป็นทางการซึ่งจะใช้เวลาประมาณ สามถึงสี่ชั่วโมง โดยเจ้าภาพจะเตรียมมืออาหารแบบเบาๆให้ก่อนที่แขกจะได้ดื่มชารสเข้ม ปัจจุบัน ชารสอ่อนจะได้รับความนิยมมากกว่า เพราะ พิธีชงชาแบบชารสอ่อนนั้นจะใช้เวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมง
เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเข้าไปในห้องชงชาในร้านจูอันเป็นครั้งแรก ผู้เขียนก็ได้สะดุดตากับการตกแต่งร้านแบบญี่ปุ่น ห้องชงชานั้นก็ได้รับการตกแต่งตามแบบฉบับญี่ปุ่นดั้งเดิม คือ ขนาดห้อง เสื่อตาตามิสี่ผืนครึ่ง ซึ่งสามารถรับรองแขกได้ถึงหกคนในเวลาเดียวกัน บนกำแพงนั้นมีภาพวาดอักษรญี่ปุ่นที่เขียนว่า จุอัน จากศิลปินชื่อดังแขวนอยู่ สำหรับถ้วยชานั้น ทางเจ้าภาพจะเลือกตามฤดู และโอกาสที่เหมาะสมกับแขกที่เข้าร่วมในแต่ละพิธี ส่วนอุปกรณ์ชงชาจะมีความหมายอันเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป โถใส่น้ำและอุปกรณ์สำหรับพิธีชงชาทั้งหมดล้วนแต่มีความพิเศษ เพราะทุกอย่างล้วนเป็นตัวแทนความหมายของสี่องค์ประกอบสำคัญของพิธีชงชา โปรดจำไว้ว่าเราควรที่จะพิจารณาและชื่นชมลวดลายของถ้วยชาก่อนและหลังดื่มชาอย่างเพลิดเพลิน
เมื่อเจ้าภาพเสิร์ฟชาให้กับคุณ เขาหรือเธอจะหันด้านลวดลายของถ้วยชาไปทางด้านคุณ และโค้งคำนับให้คุณ หลังจากนั้นก่อนที่คุณจะดื่มชา คุณควรที่จะทำหันด้านลายของถ้วยไปทางเจ้าภาพเพื่อแสดงความเคารพกลับสู่เจ้าภาพ หลังจากที่คุณดื่มชาแล้วจึงหมุนด้านลายกลับมาทางด้านคุณเพื่อพิจารณาและชื่นชมลวดลายนั้น จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอนพิธีชงชา คือประสบการณ์ในการพิจารณา และเสพศิลปะ
สำหรับคนญี่ปุ่น พิธีชงชานั้นไม่เพียงแต่เป็นการพบปะพูดคุยกันระหว่างผู้เข้าร่วมพิธี แต่ยังเป็นศิลปะแขนงหนึ่งเพื่อถ่ายทอดและแสดงถึงประวัติศาสตร์และประเพณีที่มีมาช้านานของประเทศ คุณคิราฮาตะ นั้นทุ่มเทชีวิตในการเป็นฑูตวัฒนธรรมชาญี่ปุ่น โดยการก่อตั้งร้านน้ำชาเพื่อถ่ายทอดศิลปะวัฒนธรรมชิ้นนี้ให้แก่นักท่องเที่ยวจากนานาประเทศ และนี่คือประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตของผู้เขียนที่แท้จริง