ซุอิโระ-กะกุและ‘อินไคลน์’ของเกียวโต

เดินไปตาม ‘อินไคลน์’ ในฤดูฝน

ในช่วงฤดูกาลที่เราเรียกว่า ซึตยุ หรือฤดูฝน สีสันของธรรมชาติได้เข้มขึ้น อากาศที่เก็บความชื้นไว้มากเป็นเสมือนเลนส์ ที่ทำให้สีเขียวของใบเมเปิ้ลพระจันทร์เต็มดวงของญี่ปุ่น และใบของต้นโอ๊คเข้มข้นขึ้น เรืองรองและเจิดจ้าท่ามกลางสายฝน ทุกกิ่งก้านถูกกดลงด้วยน้ำหนักของเม็ดฝนที่ปลายใบแต่ละใบ

ผมปีนบันไดของสถานีรถไฟใต้ดินเคะอะเกะ (Keage) และเดินไปที่ 'อินไคลน์' (Incline) ที่ยังหลงเหลืออยู่ของคลองบิวะโกะ ในสมัยการฟื้นฟูเมจิ ศตวรรษที่สิบเก้า จักรพรรดิเท็นโนะ (Tenno) เสด็จออกจากเกียวโต ไปยังโตเกียว ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการเป็นเมืองหลวงของเกียวโต ความรุ่งเรืองของเกียวโตได้ถดถอยลง ดุจเดียวกับชะตากรรมของเกียวโต โกะโชะ (พระราชวังอิมพีเรียลเกียวโต) ชาวเกียวโตรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดของเกียวโตในขณะนั้น คุนิมิชิ คิตะกะคิ (Kunimichi Kitagaki) ก็เป็นหนึ่งในนั้น เขาจึงได้สนับสนุนโครงการยอดเยี่ยมอันใหม่

เกียวโตเป็นเมืองที่สร้างขึ้นเหนือธารน้ำไหลใต้ดิน แต่จริงๆ แล้วปริมาณของน้ำมีไม่มากนัก ต่างจากเขตชิกะซึ่งอยู่ริมทะเลสาบบิวะโกะ (Biwako) ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น โครงการ คิตะกะคิ คือการดึงน้ำจากทะเลสาบ ผ่านภูเขาทั้งหมดโดยการสร้างอุโมงค์ เมื่อคลองนี้เสร็จสิ้นลงในปี 1890 และได้ชื่อว่า บิวะโกะ โซะซุอิ (Biwako Sosui)

เรือบรรทุกสินค้าที่ล่องมาตามคลองนี้ จะต้องตกฮวบ 32 เมตร ลงไปยังแม่น้ำกะโมะกะวะ ที่เคะอะเกะ ระบบการทำงานก็คือ วางเรือไว้บนรถราง น่าอัศจรรย์ไหม! ที่คนในยุคเมจิได้มีความคิดแปลกๆ และอาจหาญเช่นนี้ นั่นเป็นผลให้การขนส่งทางน้ำเป็นความจริงขึ้นมาเช่นเดียวกับการขนส่งทางบก เกียวโตได้มีชีวิตชีวาและกระฉับกระเฉงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ในขณะเดียวกันโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกยังสร้างขึ้นที่นี่ด้วย ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นด้วยอิฐมีชื่อว่า ซุอิโระ-กะกุ (Suiro-Kaku) อยู่ข้างวัดนันเซ็น-จิ (Nanzen-ji) กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากที่นี่ได้ใช้ในการขับเคลื่อนชิเด็น เกียวโต – รถไฟไฟฟ้าคันแรกของญี่ปุ่น และยังใช้ในโคมไฟอันแรกของญี่ปุ่นด้วย

ครุ่นคิดถึงวันวานที่ผ่านมาเหล่านั้น ช่างน่าประหลาดใจนัก ที่เหตุการณ์บังเอิญในชีวิตประจำวัน และกำลังใจที่ได้รับในการพบผู้คนใหม่ๆ ผมเดินไปตามทาง ทีละขั้น ทีละขั้นบนถนนเปียกชื้นที่ปูด้วยอิฐ อะไรที่ขนส่งขึ้นหรือลงในศตวรรษที่ผ่านมา? ความรัก ความฝัน ความสิ้นหวัง ความปรารถนา หรือความทุกข์ อะไรที่คลองนี้ได้ชะล้างไป ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เดินต่อไปเรื่อยๆ ผมครุ่นคิดถึงอารมณ์ดิบเหล่านั้น คลอด้วยเสียงน้ำไหลในคลอง แล้วผมก็พบว่า ตัวเองได้มายืนอยู่ที่ประตูของวัดนันเซ็น-จิ การเดินเล่นสั้นๆ กลางสายฝน ก็ได้จบลง เพียงแต่มันเป็นเหมือนฝันสำหรับผม

0
0
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ช่วยเราพัฒนาเว็ปไซต์ JapanTravel.com
ให้คำติชมหรือข้อเสนอแนะ

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your support!

Your feedback has been sent.