เบื้องหลังคามาคูระ ไดบัตสุ - 2

ความหมายลึกซึ้งภายใต้รูปลักษณ์ของไดบัตสุ

ในบทความก่อนหน้านี้ฉันได้อธิบายลักษณะขององค์ไดบัตสุตอนที่พระพุทธรูปหล่อเสร็จครั้งแรกเมื่อเกือบ 760 ปีก่อน เราได้เห็นกรรมวิธีการหล่อและหลอมกันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาดูลักษณะทางกายภาพอันโดดเด่นของไดบัตสุว่าแต่ละอย่างมีความหมายอะไรบ้าง

ทรงผมและรอยขดบนหน้าผาก

ผมของพระพุทธรุปส่วนใหญ่จะบิดไปตามเข็มนาฬิกาและม้วนติดกันเป็นขดหรือเกลียวจำนวนมาก กล่าวกันว่าเส้นผมขององค์สิทธัตถะก้ขดไปตามเข็มนาฬิกา และองค์ไดบัตสุที่นาราก็ขดไปในทางเดียวกันด้วย แต่กับคามาคุระ ไดบัตสุนั้น มีรอยขด 656 ขดในทิศทางตรงกันข้าม (ภาพ 1) นักวิชาการให้ความเห้นว่าองค์ไดบัตสุถูกหล่อขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองหลวงใหม่อย่างคามาคูระ ซึ่งโชกุนคามาคูระต้องการพระพุทธรูปที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน 

รอยขดตรงกึ่งกลางหน้าผากนั้นหมุนไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา (ภาพ 2) ถ้าคลายวงขดนั้นออกมาจะได้เป็นเส้นผมสีขาวยาวสลวยเปล่งประกายสว่างยาวถึง 4.5เมตร โชกุนคามาคูระอาจต้องการให้ไดบัตสุเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวเมืองคามาคูระและชาวญี่ปุ่นทั้งหมด

หนวด

คามาคูระ ไดบัตสุมีหนวด (ภาพ 3) ที่เป็นสัญลักษณ์แทนแสงสว่างชงไดบัตสุ แสงไฟนั้นสว่างเจิดเจ้าและแผ่ไปนอกไดบัตสุ กระจายไปทั่วทั้งโลก

ติ่งหู

ใบหูของไดบัตสูนั้นค่อนข้างสูง (195 ซ.ม.) และที่ติ่งหูก็มีรูขนาดใหญ่ (ภาพ 4) ที่ใบหูมีขนาดใหญ่จะได้ไว้ฟังเสียงเพรียกหาของประชาชน และรูที่ติ่งหูคือรอยเจาะต่างหูที่ผู้ชายตระกูลชนชั้นสูงมักสวมใส่กัน (เช่นองค์ชายสิทธัตถะ) ในประเทศอินเดียวเมื่อ 2500 ปีที่แล้ว แต่ต้องเลิกใส่เมื่อออกบวช

ใบหน้าบุรุษ

กล่าวกันว่าพระพุทธเจ้าไม่มีเพศ แต่เมื่อเราดูรูปพระพุทธเจ้า (ทั้งภาพวาดและพระพุทธรูป) เราจะเห็นความก้ำกึ่งระหว่างบุรุษเพศกับสตรีเพศ แล้วคุณรู้สึกอย่างไรกับกับคามาคุระ ไดบัตสุ? นัยน์ตาคมเข้ม จมูกใหญ่ ใบหน้ากล้าหาญ และลักษณะที่สงบแต่แข็งแกร่งนั้นคือความเป็นเพศชายทั้งสิ้น ใช่หรือไม่ (ภาพ 5)? ซึ่งลักษณะความเป็นบุรุษอย่างชัดเจนนี้เป็นที่นิยมของคามาคูระในหมู่ซามูไร กล่าวได้กว่าพระพุทธรุปในเกียวโตนั้นงดงามอ่อนช้อย ว่วนองค์ที่คามาคูระมีความเกรียงไกรมากกว่า แบบคามาคูระนี้เรียกว่าแนวอันเคอิ อันเคอิเป้นศิลปินชื่อดังที่มีถิ่นอยู่ในนารา แต่ก้มาทำงานที่คามาคูระอยู่ช่วงหนึ่ง ซามูไรที่ร่ำรวยมักจะให้งานแกะสลักที่ตนสั่งทำเป็นจำนวนมากเป็นสไตล์แบบอันเคอิ

ไหล่โค้งมน

เมื่อมองไดบัตสุจากด้านข้าง เราก็เห็นว่าไหล่นั้นโค้งมนมาก (ภาพ 6) ไดบัตสุโน้มตัวไปด้านหน้าทำให้เราสามารถมองเห็นใบหน้าท่านได้ถนัด ซึ่งเป็นเช่นนี้โดยเฉพาะในศาลาเดิมซึ่งคนที่มาชมพระพุทธรูปสามารถยืนชมได้จากด้านหน้าเพีนงด้านเดียว

ตำแหน่งนิ้วมือ

เวลาคุณสังเกตพระพุทธรูปไม่ว่าองค์ไหนก็อาจจะสงสัยเรื่องตำแหน่งของนิ้วมือ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีการจัดตำแหน่งอยู่หลายปางและแต่ละปางก็มีความหมายพิเศษแตกต่างกันออกไป

คามาคูระ ไดบัตสุใช้การวางตำแหน่งเชิงสัญลักษณ์ปาง โจ-อิน ที่แสดงให้เห็นถึงการทำสมาธิ ปกติจะเห็นปางโจ-อินได้ตามพระพุทธรูปอมิตาภพุทธะหรือศากยมุนี คามาคูระใช้ปางโจ-อินเหมือนพระอมิตาภพุทธะแต่ตำแน่งของนิ้วโป้งทั้งสองไม่เหมือนกันทำให้เป็นความโดเด่น ประการแรก เล็บหัวแม่มือของไดบัตสุไม่ได้ชี้ขึ้นด้านบน ประการที่สอง นิ้วหัวแม่มือของไดบัตสุนั้นอยู่ด้านหน้า (และเก็บ) ปลายนิ้วชี้ทั้งสองไว้ (รูป 7 & 8) ด้วยเหตุเช่นนี้จึงทำให้คามาคูระ ไดบัตสุแตกต่างไปจากพระพุทธรูปองค์ก่อน ๆ

เราก็ไม่แน่ใจนักว่าเพราะเหตุใดจึงออกแบบมาในลักษณะนี้ แต่ว่าตามคาดการณ์อย่างน่าเชื่อถือของเหล่านักประวัติศาสตร์ก็คือโชกุนคามาคูระพยายามที่จะปลดแอกคามาคูระด้วยการสร้างมาตรฐานชนิดใหม่ขึ้นมา และดังที่ได้อธิบายไว้ด้านบน โชกุนต้องการให้คามาคูระ ไดบัตสุเป้นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน ด้วยใบหูใหญ่ หนวด ไหล่โค้งมน และอื่น ๆ

ถ้าคุณมีความรู้เกี่ยวกับไดบัตสุอยุ่น้อยนิด ก็มาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่พระพุทธรูปนี้ หวังว่าคุณจะมีประสบการณ์น่าประทับใจ

บทความชุดคามาคูระ ไดบัตสุ

พระพุทธรูปปางสมาธิที่ตระหง่านอยู่ใต้ผืนฟ้ามากว่า 500 ปี

เบื้องหลังคามาคูระ ไดบัตสุ:

1. กลวิธีพิเศษในการหล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดยักษ์

2. ความหมายลึกซึ้งภายใต้รูปลักษณ์ของไดบัตสุ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คามาคุระ ไดบุซึ

0
0
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ช่วยเราพัฒนาเว็ปไซต์ JapanTravel.com
ให้คำติชมหรือข้อเสนอแนะ

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your support!

Your feedback has been sent.