GARDEN OF FINE ARTSเที่ยวแบบสถาปนิก

Museum ที่ไม่ควรพลาด

MAIN ENTRANCEขึ้นชื่อว่า “ประเทศญี่ปุ่น” ส่งที่ทำให้นึกถึงก็คือรูปแบบสถาปัตยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ การใส่ใจในรายละเอียด ทำให้ประเทศนี้เป็นที่หลงไหล่ของเหล่าDesigner, Artist ,สถาปนิก และสถานที่ที่สถาปนิกอย่างฉันอยากจะขอนำเสนอคือGarden of Fine Art Museum ที่ถูกออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่าง Tadao Ando ซึ่งถูกการันตีด้วยรางวัล The Pritzker Architecture Prize เป็นรางวัลที่มอบให้แก่สถาปนิกที่มีผลงานโดดเด่น มีคุณภาพ และGarden of Fine Art Museum เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ Tadao Ando ออกแบบการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ โดยที่ได้คำนึงถึง การใช้งานที่เป็นสถานที่แสดงงานศิลปะ ซึ่งตัวสถาปัตยกรรมก็แสดงออกถึงความเคารพในงานศิลปะเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ทิ้งStyleการออกแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ Tadao Ando ทำให้พิพิธภัณฑ์นี้ดูกลมกลืนกับพื้นที่รอบนอก 

INTERIOR SPACE

แต่เมื่อซื้อตั๋วราคา100เยน เข้ามาชมงานศิลปะภายใน จะพบงานสถาปัตยกรรมที่มีโครงสร้างไขว่กันไปมา เหมือนซุ้มนำไปสู่งานศิลปะภาพวาดเก่าแก่ของจิตรกรนามว่า Toba Soji ซึ่งเป็นงานศิปละยาวตลอดทางเดินทำให้ลื่นไหลไปกับงานสถาปัตยกรรมระหว่างทางเดินจะได้ยินเสียงของน้ำไหลไปตามผนัง และเมื่อลงมาถึงชั้นล่างสุด เป็นงานMichelangelo ที่ชื่อว่า”Last Judgment” มีขนาด 14.30X13.09 เมตร สูงเท่าตึก3ชั้น เมื่อมองขึ้นไปให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่และสง่างาม รอบๆผนังภาพ Last Judgmentจะมีผนังน้ำตกอยู่รอบๆ ตรงข้ามภาพมีม้านั่งอยู่1ตัว เมื่อได้เข้าไปนั่งในพื้นที่(Space)จะได้ยินเสียงของน้ำทำให้รู้สึกเย็นสบาย และตัวพื้นที่ทำให้เกิดสภาวะหยุดนิ่ง สงบ และจะเกิดการพิจารณาภาพวาดของจิตรกรเอกของโลก ภาพที่แสดงถึงนรก-สวรรค์ ความรู้สึกนี้เกิด

ขึ้นได้จากการสรรค์สร้างพื้นที่ใช้งานให้เหมาะสมและคู่ควรกับภาพวาดที่แสดงออก เมื่อผ่านจุดนี้ไปเป็นพื้นที่ทางออกจะพบกับทางเดินยาวที่เป็นทางออกแคบๆผนังสูงๆเมื่อมองตรงไปสุดทางเดินจะเห็นภาพบรรยากาศภายนอกเพียงเล็กน้อย แต่มีเดินออกไปเรื่อยๆจะพบช่องเปิดด้านข้างทางขวามือที่มีจังหวะการเปิดตรงกับภาพวาดของ Seurat ภาพ “A Sun Afternoon” ,Renoir ภาพ “On The Terrace” และสุดท้ายLeonardo da Vinci ภาพ “Last Supper” ทำให้เกิดมุมมองที่พอดีกับภาพวาดและทำให้ภาพวาดดูเด่นมากขึ้น สำหรับการใช้เวลากับสถานที่ที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กเพียง 2824m2 ถือว่าเป็นการใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมาก แต่ก็ถือว่าการออกแบบของสถาปนิกได้ผลและมีผลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ชมได้สัมผัสถึงงานศิลปะที่ใครๆคิดว่าเป็นเรื่องยากด้วยงานสถาปัตยกรรมเอง ถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาด ทั้งArtist และบุคคลทั่วไปขึ้นชื่อว่า “ประเทศญี่ปุ่น” ส่งที่ทำให้นึกถึงก็คือรูปแบบสถาปัตยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ การใส่ใจในรายละเอียด ทำให้ประเทศนี้เป็นที่หลงไหล่ของเหล่าDesigner, Artist ,สถาปนิก และสถานที่ที่สถาปนิกอย่างฉันอยากจะขอนำเสนอคือGarden of Fine Art Museum ที่ถูกออกแบบโดยสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่าง Tadao Ando ซึ่งถูกการันตีด้วยรางวัล The Pritzker Architecture Prize เป็นรางวัลที่มอบให้แก่สถาปนิกที่มีผลงานโดดเด่น มีคุณภาพ และGarden of Fine Art Museum เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ Tadao Ando ออกแบบการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ โดยที่ได้คำนึงถึง การใช้งานที่เป็นสถานที่แสดงงานศิลปะ ซึ่งตัวสถาปัตยกรรมก็แสดงออกถึงความเคารพในงานศิลปะเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ทิ้งStyleการออกแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ Tadao Ando ทำให้พิพิธภัณฑ์นี้ดูกลมกลืนกับพื้นที่รอบนอก แต่เมื่อซื้อตั๋วราคา100เยน เข้ามาชมงานศิลปะภายใน จะพบงานสถาปัตยกรรมที่มีโครงสร้างไขว่กันไปมา เหมือนซุ้มนำไปสู่งานศิลปะภาพวาดเก่าแก่ของจิตรกรนามว่า Toba Soji ซึ่งเป็นงานศิปละยาวตลอดทางเดินทำให้ลื่นไหลไปกับงานสถาปัตยกรรมระหว่างทางเดินจะได้ยินเสียงของน้ำไหลไปตามผนัง และเมื่อลงมาถึงชั้นล่างสุด เป็นงานMichelangelo ที่ชื่อว่า”Last Judgment” มีขนาด 14.30X13.09 เมตร สูงเท่าตึก3ชั้น เมื่อมองขึ้นไปให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่และสง่างาม รอบๆผนังภาพ Last Judgmentจะมีผนังน้ำตกอยู่รอบๆ ตรงข้ามภาพมีม้านั่งอยู่1ตัว เมื่อได้เข้าไปนั่งในพื้นที่(Space)จะได้ยินเสียงของน้ำทำให้รู้สึกเย็นสบาย และตัวพื้นที่ทำให้เกิดสภาวะหยุดนิ่ง สงบ และจะเกิดการพิจารณาภาพวาดของจิตรกรเอกของโลก ภาพที่แสดงถึงนรก-สวรรค์ ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้จากการสรรค์สร้างพื้นที่ใช้งานให้เหมาะสมและคู่ควรกับภาพวาดที่แสดงออก เมื่อผ่านจุดนี้ไปเป็นพื้นที่ทางออกจะพบกับทางเดินยาวที่เป็นทางออกแคบๆผนังสูงๆเมื่อมองตรงไปสุดทางเดินจะเห็นภาพบรรยากาศภายนอกเพียงเล็กน้อย แต่มีเดินออกไปเรื่อยๆจะพบช่องเปิดด้านข้างทางขวามือที่มีจังหวะการเปิดตรงกับภาพวาดของ Seurat ภาพ “A Sun Afternoon” ,Renoir ภาพ “On The Terrace” และสุดท้ายLeonardo da Vinci ภาพ “Last Supper” ทำให้เกิดมุมมองที่พอดีกับภาพวาดและทำให้ภาพวาดดูเด่นมากขึ้น สำหรับการใช้เวลากับสถานที่ที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กเพียง 2824m2 ถือว่าเป็นการใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมาก แต่ก็ถือว่าการออกแบบของสถาปนิกได้ผลและมีผลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ชมได้สัมผัสถึงงานศิลปะที่ใครๆคิดว่าเป็นเรื่องยากด้วยงานสถาปัตยกรรมเอง ถือว่าเป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาด ทั้งArtist และบุคคลทั่วไป

0
0
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ช่วยเราพัฒนาเว็ปไซต์ JapanTravel.com
ให้คำติชมหรือข้อเสนอแนะ

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your support!

Your feedback has been sent.