คามาคุระ ไดบุซึ

พระพุทธรูปที่นั่งสมาธิกลางแจ้งมาเป็นเวลากว่า 500 ปี

คุณรู้หรือไม่ว่าสถานที่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการภาพถ่ายที่ระลึกของนักท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นคือที่ไหน? และคุณรู้หรือไม่ว่ารูปปั้นรูปแรกที่ได้รับการถ่ายภาพ และแนะนำให้นักเดินทางชาวต่างชาติได้รู้จักคือารูปปั้นอะไร? คำตอบสำหรับคำถามทั้งสองนี้จะเหมือนกัน คือ คามาคุระ ไดบุซึ

คามาคุระ ไดบุซึ เป็นรูปปั้นบรอนซ์ที่สร้างขึ้นในกลางศตวรรษที่ 13 (760 ปีก่อน) พระพุทธรูปที่นั่งสมาธิกลางแจ้งมาเป็นเวลากว่า 500 ปี หลังจากการสูญเสียวิหารที่สร้างครอบองค์พระเดิม เมื่อคุณมาเยี่ยมชม คุณอาจเห็นพระพุทธรูปนั่งกลางสายฝน หรือเหงื่อออกภายใต้ดวงอาทิตย์ หรือเพียงแค่เพลิดเพลินไปกับฤดูใบไม้ผลิที่อบอุ่น เมื่อใดก็ตามที่คุณมาเยี่ยมชม การแสดงออกทางใบหน้าของพระพุทธรูปจะสัมผัสหัวใจของคุณ คามาคุระ ไดบุซึได้รับการอนุรักษ์ไว้ ไม่มีการบูรณะตั้งแต่พระพุทธรูปถูกสร้างขึ้น ในขณะที่บริเวณรอบๆ ได้มีการสร้างขึ้นใหม่

ประวัติศาสตร์

เริ่มต้นที่ศตวรรษที่ 13 รัฐบาลโชกุนคะมะกุระเริ่มครอบครองเมืองและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในขณะนั้นพุทธศาสนาแพร่หลายมาก ดังนั้นพวกเขาจึงสร้างวัดขึ้นที่ทางเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตกของเมืองคามาคุระ เพื่อให้พุทธศาสนาคุ้มครอง ต่อมาพวกเขาต้องการสร้างสัญลักษณ์ของเมืองหลวงใหม่ และนั่นก็คือ พระพุทธรูปไดบุซึ

จากบันทึกเก่าแก่ของ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ‘อะซุมะ คะกะมิ’ (Azuma Kagami) การก่อสร้างพระพุทธรูปไดบุซึองค์แรก เริ่มขึ้นในปี 1238 และพิธีเฉลิมฉลองการสร้างเสร็จมีขึ้นในปี 1243 เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นจากไม้ แต่ในปี 1252 การหล่อพระพุทธรูปไดบุซึองค์ที่สองได้มีขึ้น นั่นหมายความว่าพระพุทธรูปไดบุซึองค์ที่สองอายุเกือบ 760 ปี!

รายละเอียดเกี่ยวกับก่อสร้าง

ตอนนี้ฉันจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระพุทธรูปไดบุซึ คุณเห็นชิ้นส่วนของแผ่นทองที่แก้มขวาของพระพุทธรูปไดบุซึหรือไม่? เดิมทีพระพุทธรูปองค์นี้ปิดทองทั่วทั้งองค์ พระพุทธรูปไดบุซึที่นาราทำจากทองแดง แล้วชุบทอง แต่พระพุทธรูปไดบุซึของคามาคุระทำจากบรอนซ์ (ทองแดง 68.7% ดีบุก 9.3% และตะกั่ว 19.6%) ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะชุบทองโดยใช้เทคนิคของยุคนั้น แต่พวกเขาปิดทองบนพระพุทธรูปแทน

รายละเอียดเกี่ยวกับตา ความยาวระหว่างมุมด้านในและด้านนอกของตามีขนาดประมาณหนึ่งเมตร หูมีขนาดสูง 1.95 เมตร และมีรูต่างหูขนาดใหญ่ (พระสิทธารถได้เจาะหูก่อนที่พระองค์จะออกบวช) และคุณสามารถเห็นสิ่งที่อยู่ใต้จมูกขององค์พระพุทธรูป ใช่แล้วพระพุทธรูปไดบุซึ มีหนวด!

พระพุทธรูปไดบุซึสูง 11.387 เมตร สร้างขึ้นทีละขั้นตอน โดยการเทโลหะถึงสิบครั้ง เริ่มเทจากด้านล่างไปเรื่อยๆ จนถึงส่วนเศียรของพระพุทธรูป คุณสามารถเห็นรอยต่อของการเทแต่ละครั้ง เหมือนกับงานผ้าต่อไปทั่วพระกายของพระพุทธรูป (คล้ายวงแหวนของต้นไม้) มีรอยเชื่อมต่อมากมายภายในองค์พระพุทธรูป ที่เชื่อมต่อชิ้นบรอนซ์ให้เข้ากันอย่างหนาแน่น

นอกจากนี้คุณยังอาจสังเกตเห็น หินหลายๆ ก้อนกระจัดกระจายอยู่รอบพระพุทธรูป พื้นผิวของหินเหล่านี้แบนราบ พวกเขาสันนิฐานกันว่า อาจจะเป็นหินรากฐานของอาคารซึ่งเคยเป็นวิหารที่สร้างครอบองค์พระพุทธรูปไดบุซึ วิหารได้ถูกทำลายและสร้างขึ้นใหม่หลายๆ ครั้ง แล้วในที่สุดก็พวกเขาตัดสินใจให้องค์พระประทับอยู่กลางแจ้ง ภายใต้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

จากบันทึกเกี่ยวกับพระพุทธรูปไดบุซึได้มีการบูรณะในปี 1335 (ไทเฮะกิ) และในปี 1369 (คามาคุระ ได-นิกกิ) และในหนังสือไบกะ มุจิงโซะ (Baika Mujinzo) ได้กล่าวว่าเอาไว้ว่าพระพุทธรูปไดบุซึไม่มีวิหารครอบตั้งแต่ปี 1486 ดังนั้นนักวิชาการส่วนใหญ่จึงสันนิษฐานกันว่า วิหารครอบองค์พระพุทธรูปไดบุซึ ได้ถูกทำลายตั้งแต่ปี 1369 แต่บางคนเชื่อกันว่าคลื่นสึนามิในปี 1498 ได้ทำลายวิหารครอบองค์พระพุทธรูปไดบุซึ แต่ก็ไม่มีหลักฐาน จากการขุดวิจัยในปี 2000 แสดงให้เห็นว่าไม่มีการสร้างอาคารใด ๆ หลังจากปี 1369

เรื่องราวของพระพุทธรูปไดบุซึในปัจจุบัน

นี่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ เมื่อ 40 ปีมาแล้ว ครอบครัวหนึ่งมาจากสหรัฐอเมริกา มาที่คามาคุระ เพื่อชมพระพุทธรูปไดบุซึ ในขณะนั้นเด็กคนหนึ่งของครอบครัวไม่ชื่นชมกับพระพุทธรูปเท่าที่ควร แม้ว่าพ่อแม่ของเขาจะชื่นชมพระพุทธรูปอย่างลึกซึ้งก็ตาม สิ่งเดียวที่เด็กคนนั้นสนใจคือไอศครีมชาเขียวที่ขายในบริเวณใกล้เคียง หลายปีต่อมา มีการประชุมเอเปคที่จัดขึ้นในโยโกฮามาในปี 2010 ผู้แทนจากทุกประเทศทั่วโลกได้มาที่คะนะกะวะ และหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง หนึ่งในผู้แทนของโลกนั้นกระตือรือร้นที่จะเข้าชมพระพุทธรูปไดบุซึ เขาอยากจะเห็นพระพุทธรูปไดบุซึอีกครั้ง และสัมผัสพระพุทธรูปไดบุซึจริงๆ เป็นครั้งแรก เขาคือเด็กคนนั้นที่เคยมาเยี่ยมชมพระพุทธรูปไดบุซึกับครอบครัว เมื่อ 40 ปีที่แล้ว และอร่อยไปกับไอศครีม ชื่อของเขาก็คือ คุณอาจจะเดาได้ว่า ประธานาธิบดี บารัค โอบามา

ฉันคิดว่าเสน่ห์ของพระพุทธรูปไดบุซึที่คามาคุระ อยู่ที่การแสดงออกของสีพระพักต์ สีของพื้นผิวพระพุทธรูป และสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดในหลายๆศตวรรษ แต่พระพุทธรูปไดบุซึ ได้แสดงให้เราเห็นถึงความล้ำลึกของสีพระพักต์อย่างต่อเนื่อง

อนึ่ง ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมวันเบาหวานโลก ทางวัดจะมีแสงไฟสีฟ้าฉายส่ององค์พระพุทธรูปไดบุซึ โปรดดูรายละเอียดได้ที่นี่

ถัดมา กรุณาอ่านเกี่ยวกับวิธีการหล่อพระพุทธรูปไดบุซึ และอะไรที่ปรากฏบนสีพระพักต์ของพระพุทธรูปไดบุซึ ในบทความสองบทความต่อไป

ชุดบทความของพระพุทธรูปไดบุซึ

พระพุทธรูปที่นั่งสมาธิกลางแจ้งมาเป็นเวลากว่า 500 ปี

วิธีการหล่อพระพุทธรูปไดบุซึ

1. เทคนิคพิเศษในการหล่อรูปปั้นบรอนซ์ขนาดยักษ์

2. ความหมายล้ำลึกของสีพระพักต์ของพระพุทธรูปไดบุซึ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คามาคุระ ไดบุซึ

3
0
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ช่วยเราพัฒนาเว็ปไซต์ JapanTravel.com
ให้คำติชมหรือข้อเสนอแนะ

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your support!

Your feedback has been sent.