วัดทอง (Kinkaku-ji Temple) เกียวโต

ศาลาทองอร่ามและงานเลี้ยงในสวนที่กว้างขวาง

วัด Kinkaku-ji (หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัด Rokuon-ji) ปกติจะถูกแปลว่า "วัดศาลาทอง" แม้ว่าเรามักพุ่งความสนใจไปที่ตึก Kinkaku ที่งดงาม แต่ทั้งบริเวณวัดเป็นที่ที่พิเศษ

Ashikaga Yoshimitsu (1358-1408) โชกุนที่เกษียณแล้วสร้างคฤหาสน์ส่วนตัวให้ตัวเองชื่อ Kitayama-dono ซึ่งรวมศาลาทองที่เป็นที่ต้อนรับจักรพรรดิ ทูตจากต่างประเทศ และเหล่าขุนนาง ในฐานะนักการเมือง Yoshimitsu มีผลงานการรับใช้ประเทศญี่ปุ่นที่ยิ่งใหญ่ถึงสองงานด้วยกัน อย่างแรก เขาสิ้นสุดความขัดแย้งที่ยาวนานกว่า 50 ปี (1336-1392) ระหว่างสองจักรพรรดิ อย่างที่สอง เขาสานต่อความสัมพันธ์ทางการเมืองและการค้าขายระหว่างญี่ปุ่นกับราชวงศ์หมิงของจีนซึ่งเป็นสัญญาอย่างเป็นทางการฉบับแรกระหว่างประเทศทั้งสองใน 500 ปี ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง the Tang Dynasty Yoshimitsu อาจสร้าง Kinkaku เพื่อแสดงถึงความสำเร็จและอำนาจของเขา

คฤหาสน์นี้กลายเป็นสาขาหนึ่งของวัด Shokoku-ji Temple หลังจากที่ Yoshimitsu เสียชีวิต แต่ก็ยังเป็นที่ที่เป็นที่นิยมในการมาจัดงานเลี้ยงในหมู่ขุนนาง แน่นอนพระเอกคือ Kinkaku แต่ผู้คนสมัยนั้นก็ชอบเดินในสวนสองชั้น นั่งเรือในสระน้ำขนาดใหญ่ และชมวิวจากสะพานข้ามสระน้ำด้วย

งานเลี้ยงหรูหราที่ศาลาทอง

จาก 1402 ถึง 1407 Yoshimitsu ต้อนรับทูตจากราชวงศ์หมิงของจีน the Ming Dynasty ทุกๆปีที่ Kitayama-dono และในปี 1408 จักรพรรดิ Go-komatsu ไปเยี่ยมชม Kitayama-dono และอยู่ถึงสามอาทิตย์ ในช่วงเวลานั้น Yoshimitsu จัดงานเลี้ยงต้อนรับและบันเทิงจักรพรรดิด้วยการแสดงเต้นรำแบบ Mai, ละครดนตรี Sarugaku operas, การแข่งบอล Kemari, การแข่งแต่งกลอน Renga or Waka, และการล่องเรือในสระน้ำ

สมุดบันทึกประจำวันของพระที่วัด Shokoku-ji บรรยายคฤหาสน์นี้ว่า

"...เกือบเหมือนสวรรค์; คฤหาสน์ที่น่าทึ่งนี้เป็นที่กล่าวถึงในหมู่ผู้คนทั่วเมือง มีโครงสร้างสูงหลายแห่ง ศาลาที่น่าอัศจรรย์ และอาคารที่งดงามที่มีภาพวาดและงานแกะสลักที่สวยงาม ทั้งหมดนี้กระจายอยู่ตามจุดต่างๆในบริเวณเหมือนหมู่ดาวในท้องฟ้า" (แปลโดยผู้เขียนบทความนี้)

อีกสมุดบันทึกหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้น 200 ปีต่อมาเมื่อปี 1638 โดยพระของวัด Kinkaju-ji ว่าไว้ว่า

"เราชอบชาเขียวที่โรงชา และชอบเดินขึ้นเนินเขาไปทานมื้อกลางวันและจิบเหล้าสาเก saké หลังจากนั้น เราจะกลับมาที่ Kinkaku และนั่งเรือ เราชอบมันมาก หลังจากนั้นอีกเราจะกินก๋วยเตี๋ยวอุดง udon และข้าวผสมเครื่องปรุงต่างๆ" 

รายละเอียดของศาลาทอง

ศาลาเป็นตึกสูงสามชั้น ชั้นแรกประกอบไปด้วยห้องกว้างเรียกว่า Shinden-zukuri; ชั้นที่สองมีห้องอยู่สองห้องซึ่งถูกกั้นด้วยประตูกระดาษและระเบียงเรียกว่า Buke-zukiri; และชั้นที่สามมีกล่องที่บรรจุกระดูกของพระพุทธ ห้องนี้ถูกกั้นด้วยหน้าต่างโค้งเรียกว่า Zenshu-yo ด้านนอกของชั้นแรกเป็นไม้สีเข้มซึ่งจะตัดกับสองชั้นข้างบนซึ่งถูกล้อมรอบด้วยกำแพงสีทองอร่าม เนื่องจากศาลาตั้งอยู่ที่ขอบด้านหนึ่งของสระน้ำ เงาสะท้อนของศาลาจะระยิบระยับอยู่ในน้ำ สีเข้มของชั้นล่างที่คนส่วนใหญ่ไม่สังเกตช่วยสร้างความสมดุลให้กับความสว่างของสองชั้นบน

ประวัติสวน

เจ้าของดั้งเดิมของที่ดินนี้คือ Nakasukeo (1157-1222) ซึ่งเป็นขุนนางในราชสำนัก ต่อมา Saionji Kintsune (1171-1244) ผู้มีตำแหน่งสูงสุดในราชสำนักได้ซื้อที่นี้ต่อและสร้างวัดและคฤหาสน์สำหรับครอบครัวแล้วตั้งชื่อว่า Kitayama-dai เขาสร้างสวนสำหรับเดินเล่นที่อลังกาลรอบๆสระน้ำที่มีน้ำตกจำลองและหินสวย นอกจากนี้เขายังสร้างห้องที่ทำจากหินสำหรับรูปปั้นพระบนเนิน ตามสมุดบันทึกประจำวันของ Fujiwara no Teika ขุนนางและนักกวี เขาชื่นชอบสวนที่ยอดเยี่ยมนี้และสักการะบูชารูปปั้นพระใหม่ที่ Kitayama-dai เขาเขียนไว้ว่า "ไม่มีอะไรจะเลิศไปกว่านี้" แต่สวนนี้ก็รกร้างเมื่อครอบครัว Saionji สิ้นอำนาจ

ในปี 1397 Yoshimitsu ได้ที่มาจากครอบครัว Saionji และบูรณะคฤหาสน์ Kitayama-dono ที่สวยงามนี้ เขาออกแบบคฤหาสน์ตามวัด Saiho-ji Temple ซึ่งมีสวนสองชั้นที่มีสระน้ำและทางเดินเล่นชั้นล่างและสวนที่ไม่มีสระน้ำชั้นบน สวนล่างมีศาลาสองชั้นข้างๆสระน้ำ สวนบนถูกสร้างขึ้นบนและรอบๆสุสานเก่า เป็นที่รู้ดีว่า Yoshimitsu ชื่นชมพระ Muso Soseki และไปวัด Saiho-ji ที่ Muso Soseki สร้างก่อนหน้านั้น 50 ปีบ่อยๆ Yoshimitsu ถึงกับเคยไปค้างที่วัดทั้งคืนเพื่อปฏิบัติธรรม

สวนสองชั้นที่ Kinkaku-ji

สวนที่มีที่เดินเล่นตามสระน้ำรวมถึง Kinkaku เป็นสวนชั้นแรก มันทำให้รู้ว่าสวรรค์บนโลกมีจริง เวลาพระอาทิตย์ตกดิน กำแพงสีทองของศาลาจะสว่างเมื่อแสงอาทิตย์ส่องกระทบ Kinkaku เคยเชื่อมกับสระน้ำฝั่งตะวันออกด้วยสะพาน ณ เวลานั้น ถ้ายืนบนสะพานซึ่งอยู่ใกล้กับสระน้ำมาก เราอาจเห็นทั้งตัวศาลาที่ส่องสว่างและเงาสะท้อนของศาลาระยิบระยับอยู่บนผิวน้ำ พระสงฆ์เชื่อว่าดินแดนสวรรค์ที่บริสุทธ์ิอยู่ทางทิศตะวันตก ฉะนั้นสะพานเปรียบเสมือนทางเชื่อมระหว่างสวรรค์บนโลกกับดินแดนแห่งความบริสุทธิ์

สวนชั้นบนบนเนินเขาคือสวนชั้นสองของที่นี่ซึ่งเปรียบเสมือนดินแดนของผู้ที่จากไปแล้วเนื่องจากเจ้าของเก่าได้สร้างวัดและสุสานของครอบครัวไว้ที่ตรงนั้น Yoshimitsu ใช้สุสานเก่าอย่างฉลาดในการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของศาลาทองอร่ามกับโลกของผู้ตายตอนที่ออกแบบสวนนี้

เกี่ยวกับงานเขียนชุดนี้

ในปี 1339 พระ Muso Soseki ออกแบบและสร้างสวนสองชั้นที่วัด Saiho-ji ซึ่งโด่งดังจนถึงทุกวันนี้ ความแตกต่างระหว่างสวนล่างที่งามสง่าที่มีสระน้ำและสวนบนที่สงบคงมีพลังซ่อนอยู่สูงมาก เวลาผ่านไป 700 ปีและสวนได้เปลี่ยนไปจนไม่เหลือสภาพเดิม ตอนนี้เราสามารถเพลิดเพลินกับเสน่ห์ของสวนที่ปกคลุมไปด้วยพรมหญ้ามอสส์ที่สวยงาม

เพราะ Muso Soseki ที่คนชื่นชมและผลงานของเขา คนที่มีอำนาจในยุคต่อๆมาออกแบบสวนตามสวนสองชั้นของ Saiho-ji ในงานเขียนชุดนี้ ดิฉันจะมุ่งไปที่สวนที่พิเศษสามสวนในเกียวโตและมองความงดงามของสวนทั้งสามผ่านการใช้พื้นที่

1. วัด Saiho-ji ที่มีพรมหญ้ามอสส์ปกคลุมสวนที่ใช้ประบัติธรรมนิกาย Zen

2. วัด Kinkaku-ji ศาลาทองอร่ามและสวนสำหรับจัดงานเลี้ยงที่กว้างขวาง

3. วัด Ginkaku-ji ศาลาเงินที่อ่อนช้อยและสวนชมจันทร์

ข้อมูลเพิ่มเติม

ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดคินคะคุจิในฤดูร้อน

0
4
บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
ช่วยเราพัฒนาเว็ปไซต์ JapanTravel.com
ให้คำติชมหรือข้อเสนอแนะ

เข้าร่วมการสนทนา

Somrak Bhakdisuparit ผู้แปล หนึ่งปีมาแล้ว
มิน่าตอนแปลก็รู้สึกร้อนวูบๆค่ะ 55
Patcharii A. หนึ่งปีมาแล้ว
เห็นด้วยค่ะ ชอบคนเขียนคนนี้เหมือนกัน ^^ อยากแปลเรื่องที่เค้าเขียนบ้าง แต่ไม่ถนัดเรื่องวัดเรื่องวา 555
Somrak Bhakdisuparit ผู้แปล หนึ่งปีมาแล้ว
คนนี้เขียนดี ให้ความรู้เยอะค่ะ ชอบเขียนเป็น series ด้วย
photo story เขาก็ถ่ายรูปได้สวยนะคะ เราชอบ ;)
Patcharii A. หนึ่งปีมาแล้ว
แปลเก่งจังเลยค่ะ ^^ ได้ความรู้เกี่ยวกับวัดนี้เยอะเลย ขอบคุณค่า :)

Thank you for your support!

Your feedback has been sent.